Friday, 19/4/2024 | 1:24 UTC+0

กำเนิดทวีปแอฟริกา

แอฟริกาเป็นต้นกำเนิดของมวลมนุษยชาติ ดินแดนอาถรรพ์แห่งหายนะ เกิดเหตุการณ์รุนแรงต่างๆมากมาย เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่มาก รองจากเอเชีย มีความสวยงามทางธรรมชาติมากมาย หลากหลายประสบการณ์จากมุมมองที่แปลกใหม่ เพื่อนำไปใช้ ร่องรอยอารยธรรมที่ถูกสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น หลากหลายลักษณะภูมิภาคของทวีป จากการย้ายถิ่นฐานที่อยู่ของคนภายในทวีป สร้างอารยธรรม ตามวิถี

นานาข่าวสาร

กิจกรรมชนเผ่ามาไซ

« of 6 »
  • ประวัติ ชนเผ่า Himba ทางตอนเหนือของนามิเบีย

    ประเทศนามิเบียอาจไม่ใช่ประเทศจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวมากนัก แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนไม่น้อยสนใจในการเดินทางไปยังประเทศแห่งนี้ในทวีปแอฟริกา นั่นคือการไปเรียนรู้ชีวิตของชนเผ่าชื่อ Himba นี่คือชนเผ่าที่ค่อนข้างเป็นมิตรกับคนทั่วไปมาก เนื่องจากพื้นที่ที่พวกเขาอยู่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อีกแห่งของนามิเบีย คนไปเยี่ยมชมจะต้องเสียค่าเข้าชมและอาจมีไกด์นำทางกันด้วย ว่าแล้วลองไปเรียนรู้ชีวิตของชาวชนเผ่า Himba กันดีกว่า ประวัติน่าสนใจของชนเผ่า Himba ทางตอนเหนือของนามิเบีย ชนเผ่า Himba เป็นชนเผ่าเล็กๆ ที่อาศัยทางตอนเหนือของประเทศนามิเบีย มีประชากรราว 30,000 – 50,000 คน จากประชากรทั้งหมด 2.6 ล้านคนในประเทศแห่งนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ที่พวกเขาอาศัยอยู่จะเป็นทะเลทรายนั่นทำให้ชนเผ่า Himba ได้ชื่อว่าเป็นชนเผ่ากึ่งเร่ร่อน การอพยพของพวกเขาจะขึ้นอยู่กับฤดูกาลและเรื่องของน้ำเป็นหลัก ที่อยู่อาศัยของชนเผ่านี้จะปลูกเป็นกระท่อมขนาดเล็กเรียงกันในรูปครึ่งวงกลม มีบ้านหัวหน้าครอบครัวกับภรรยาคนแรกอยู่ตรงกลาง ภายในบ้านไม่ได้ใหญ่โตมากนักหากเทียบแล้วน่าจะแค่ประมาณเตียงควีนไซส์เท่านั้น พื้นบ้านถูกปูด้วยหนังวัว มีหมอนไม้ขนาดเล็กสูงกว่าคืบนิดหน่อยเป็นที่รองศีรษะตอนนอน มีเครื่องประดับบนศีรษะของหญิงสาว 4-5 อันถูกแขวนบนผนัง นอกนั้นภายในบ้านไม่มีอะไรเป็นเครื่องประดับ อาจด้วยความต้องย้ายพื้นที่กันบ่อยทำให้ไม่ได้สนใจเรื่องพวกนี้มากนัก หน้าบ้านจะมีกองไฟกองเล็กๆ ควันลอยออกมาเล็กน้อยพอให้รู้ว่านี่คือกองไฟ ชนเผ่า Himba เชื่อว่าห้ามให้ไฟดับเด็ดขาดเพราะไฟนี้ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณของครอบครัว บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกครอบครัวห้ามเดินผ่านระหว่างกองไฟกับหน้ากระท่อมให้เดินอ้อมหลังกระท่อม ความน่าสนใจอีกอย่างของชนเผ่า Himba คือ ผู้หญิงจะไม่อาบน้ำเลยตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต การทำความสะอาดร่างกายของพวกเขาจะใช้สิ่งที่เรียกว่า อบควันหอมจากการเผาด้วยสมุนไพรแล้วค่อยๆ ยกถ้วยควันไล่อบไปในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ใต้วงแขนสองข้าง

    Read more
  • ประวัติ ชนเผ่า Chewa และ Bantu ที่กระจายอยู่ในแซมเบีย ซิมบับเว มสลาวี และโมซัมบิก

    ความน่าสนใจของชนเผ่าหลายๆ แห่งในทวีปแอฟริกาก็มีความแตกต่างกันออกไป บางชนเผ่ามีการให้หญิงสาวก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของพวกเขาจากการถ่ายทอดทางสายเลือด อย่างชนเผ่าที่ชื่อว่า Chewa และ Bantu นี่คือชนเผ่าที่ดูแล้วผู้หญิงจะมีอิทธิพลมากกว่าผู้ชายแถมยังมีอำนาจในการกระทำสิ่งต่างๆ อีกด้วย ความน่าสนใจของเผ่านี้ยังมีอะไรให้ได้เรียนรู้อีกเยอะ ลองมาทำความรู้จักไปพร้อมๆ กัน ประวัติความน่าสนใจชนเผ่า Chewa และ Bantu ที่กระจายอยู่ในแซมเบีย ซิมบับเว มสลาวี และโมซัมบิก สำหรับชนเผ่า Chewa และ Bantu ถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่พอสมควร พวกเขามีความสัมพันธ์ค่อนข้างใกล้ชิดกับผู้คนโดยรอบ ในอดีตพวกเขายังเคยมีส่วนร่วมในประเทศสาธารณรัฐคองโกด้วย ผู้คนทั่วไปที่ได้ยินและคุ้นเคยกับชื่อชนเผ่านี้จะรู้ดีว่าภายในมีสิ่งต่างๆ ที่เป็นความลับมากมาย รวมถึงยังมีสิ่งน่าสนใจเกี่ยวกับพวกเขาในเรื่องของการทำเกษตรอีกด้วย สำหรับชนเผ่า Chewa และ Bantu ที่กระจัดกระจายอยู่ในแซมเบีย ซิมบับเว มสลาวี และ โมซัมบิก การเกิดของหญิงสาวจะต่างกับชนเผ่าอื่นๆ เนื่องจากวัฒนธรรมการสืบสกุลและการมอบมรดกของพวกเขาจะเป็นจากแม่สู่ลูกสาว ส่งผลให้หญิงสาวในชนเผ่านี้จะมีบทบาทและอำนาจทางสังคมมากกว่าผู้ชาย มีตำแหน่งพิเศษประจำชนเผ่าที่หญิงสาวคนหนึ่งทำหน้าที่ในฐานะการเป็นศูนย์รวมของจิตวิญญาณ พร้อมท่าเต้นรำที่มีชื่อว่า Gule Wamkulu ประเพณีดังกล่าวจะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเวลางานศพกับงานแต่งงานของเผ่าเท่านั้น พิธีกรรมสุดประหลาดของชนเผ่า Chewa และ Bantu ที่กระจายอยู่ในแซมเบีย ซิมบับเว มสลาวี และโซซัมบิก

    Read more
  • ชนเผ่าซูลู ประเพณีในการตรวจสอบสาวพรหมจรรย์ มีวิธีการดูการกระทำแบบใด

    ต้องยอมรับว่าในยุคสมัยปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตมากขึ้นนั่นทำให้วิถีชีวิตหลายๆ อย่างของคนเราเปลี่ยนแปลงไป หากมองในเรื่องของความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้ก็ถือเป็นเรื่องปกติที่คนเราย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านความคิด การกระทำ แม้ยังคงมีการสอดแทรกเอาความเชื่อตามประเพณีหรือวัฒนธรรมดั้งเดิมมาใช้กันอยู่บ้างแต่ก็เหมือนกับเป็นการประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยเสียมากกว่า อย่างไรก็ตามสำหรับชนเผ่าซูลูอันขึ้นชื่อว่าเป็นชนเผ่าที่หลงเหลืออยู่บนโลกนี้ก็ยังคงมีประเพณีอย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันนั่นคือประเพณีตรวจสอบสาวพรหมจรรย์ รู้จักกับประเพณีตรวจสอบสาวพรหมจรรย์ ประเพณีการตรวจสอบสาวพรหมจรรย์ (The Test of Virginity) หรือตามภาษาของชนเผ่าซูลูเรียกประเพณีนี้ว่า HLOLA เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ โดยหญิงสาวที่มีอายุระหว่าง 13-18 ปี จะต้องทำการเข้ารับตรวจสอบว่าพวกเธอนั้นยังมีพรหมจรรย์อยู่หรือไม่ จริงๆ แล้วประเพณีนี้ไมได้นิยมแค่ชนเผ่าซูลูเพียงอย่างเดียวแต่ในประเทศแอฟริกาใต้และประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงก็นิยมไม่ต่างกันเท่าไหร่นัก วิธีในการตรวจสอบสาวพรหมจรรย์ สำหรับวิธีในการตรวจสอบว่าสาวคนนี้เป็นสาวพรหมจรรย์หรือไม่ก็จะให้ผู้หญิงที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการตรวจสอบโดยเฉพาะ โดยถือว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในแบบฉบับของชนเผ่าซูลูโบราณ ทำการจับหญิงสาวให้ถ่างขาออกมาแบบกว้างที่สุดแล้วใช้สายตามองเข้าไปซึ่งจะทำให้ทราบทันทีว่าหญิงสาวคนไหนผ่านการมีเพศสัมพันธ์จนสูญเสียพรหมจรรย์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วบ้าง หากว่าหญิงสาวคนไหนยังเป็นหญิงสาวที่มีความบริสุทธิ์อยู่ก็จะได้รับการเจิมบริเวณหน้าผาก พร้อมกันนี้ก็ยังได้ใบรับรองว่าเป็นสาวบริสุทธิ์อย่างแท้จริง สิ่งเหล่านี้จะเป็นหลักประกันชั้นดีว่าผู้ชายที่แต่งงานคนนี้จะได้สาวที่บริสุทธิ์ไม่เคยต้องมือชายใดมาก่อนเลย อย่างไรก็ตามจะต้องมีการตรวจซ้ำแบบนี้ทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี อย่างไรก็ตามแต่ก่อนหญิงสาวชาวเผ่าซูลูมีวิธีการตรวจสอบพรหมจรรย์ทว่ามันจะเป็นการทำแบบเงียบๆ ในบ้าน อาทิ แม่จะขอดูความเป็นพรหมจรรย์ของลูกสาว สาวที่เข้าร่วมพิธีกรรมนี้จะต้องมีการเปลือยอก สวมกระโปรงสั้นร้อยลูกปัด หรือบางคนใช้เป็นกระโปรงสั้นแบบริ้วๆ ก็ได้ วิธีนี้จะง่ายต่อการตรวจสอบ อย่างไรก็ตามแม้ประเพณีดังกล่าวนี้อาจดูว่าเป็นเรื่องโบราณเช่นเดียวกับมีข้อขัดแย้งว่าไม่สามารถตรวจสอบได้ 100% แต่ถึงกระนั้นเป็นวิธีการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของเด็กสาวได้เป็นอย่างดี

    Read more